ปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม 1-2 มกราคม 2562
Operation Doomsday Episode III 1-2Jan 2019

ความเป็นมา
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561 ผมและคณะได้ขึ้นไปกางเต้นและนอนพักเพื่อเก็บข้อมูลและภาพถ่ายปรากฏการณ์ "เหมายัน" (Winter Solstice) เช้าตรู่วันที่ 21 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก บนยอดภูเขา +520 เมตรจากระดับน้ำทะเล ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในครั้งนี้มีแขกผู้ใหญ่และคณะจากกรุงเทพมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย แขกผู้ใหญ่ท่านนั้นได้ตั้งคำถามว่า ........ พรรคพวกที่กรุงเทพลือกันแซดว่าวันที่ 2 มกราคม 2562 แกนของโลกจะพลิกกลับข้างทำให้เกิดภัยพิบัติร้ายแรง .......จริงหรือไม่? ในฐานะนักพิภพวิทยาผมตอบว่า "เป็นเพียงข่าวลือ" และจะพิสูจน์ด้วยหลักวิทยาศาสตร์เพื่อยืนยันโดยตั้งชื่อ "ปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม" (Operation Doomsday Episode III) อนึ่งได้เคยมีปฏิบัติการเช่นนี้สองครั้งแล้ว
ครั้งที่ 1 ที่ปราสาทภูเพ็กแห่งนี้เมื่อวันที่ 20 - 21 ธันวาคม พ.ศ.2555 (20 - 21 Dec 2012) ตามข่าวลือจาก "ปฏิทินเผ่ามายา" ที่บอกว่าโลกจะสิ้นสุดในวันดังกล่าว
ครั้งที่ 2 ที่ปีรามิด Kulkukan Chichen Itza Mexico ประกบคู่กับปราสาทภูเพ็กและพระธาตุเชิงชุม สกลนคร วันที่ 5 - 6 สิงหาคม 2558
ดังนั้นปฏิบัติการครั้งนี้จึงเป็นครั้งที่สาม (Episode III)

โลโก้ปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคหนึ่งและภาคสอง

แขกผู้ใหญ่และคณะจากกรุงเทพที่มาร่วมสังเกตการณ์ "เหมายัน" (Winter Solstice) 21 December 2018 ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
ขั้นตอนการพิสูจน์เชิงวิทยาศาสตร์ว่าแกนโลกยังคงปกติ และโลกก็ยังคงโคจรต่อไปตามกฏแห่งระบบสุริยะ
ผมและคุณนกผู้ร่วมงานเป็นชาวบ้านภูเพ็กได้ขึ้นไปที่ปราสาทภูเพ็กตอนบ่ายแก่ๆของวันที่ 1 มกราคม 2562 เพื่อกางเต้นที่พักและเริ่มเก็บข้อมูลเบื้องต้นตั้งแต่เวลา 17:00 น.

ผมกับทีมงานชื่อคุณนกกางเต้นที่พักบริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทภูเพ็กเพื่อให้ตัวปราสาทบังกระแสลมหนาวที่พัดแรงมากในตอนดึกๆ
ขั้นตอนที่ 1
จับพิกัดมุมดวงอาทิตย์ตก (Sunset) ว่าเป็นไปตามปกติหรือไม่ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ (The Starry Night Pro Plus) สร้างภาพจำลองไว้ล่วงหน้า (Simulation) ว่าดวงอาทิตย์จะตก ณ ตำแหน่งมุมกวาดจากทิศเหนือ 245 องศา (Azimuth 245)
โปรแกรม The Starry Night แสดงภาพจำลองดวงอาทิตย์ตกที่มุมกวาดจากทิศเหนือ 243 องศา และ 245 องศา (sunset at azimuth 243 and 245) ตรงกับเวลา 17:00 และ 17:30

ใช้นาฬิกาแดดเป็นอุปกรณ์ในการจับเวลาและพิกัดดวงอาทิตย์

นาฬิกาแดดแสดงผลที่เวลา 17:00 น. เมื่อเปรียบเทียบกับนาฬิกาข้อมือที่เวลาราวๆ 17:08 นาที สอดคล้องกับ "สมการแห่งเวลา" (Equation of Time) ระหว่าง Solar time กับ Clock time
.jpg)
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ The Starry Night แสดงภาพจำลอง ณ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทภูเพ็กที่มุมกวาด 245 องศา (sunset at azimuth 245) วันที่ 1 Jan 2019 เวลา 17:30 น.

ภาพถ่ายแสดงให้เห็นดวงอาทิตย์กำลังตก ณ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทภูเพ็ก
.jpg)
เข็มทิศแสดงพิกัดดวงอาทิตย์ตกที่มุมกวาด 245 องศา ณ เวลา 17:30 น.
ขั้นตอนที่ 2
จับพิกัดดาวเหนือ (Polaris) ว่ายังคงอยู่ที่เดิมหรือไม่ ดาวดวงนี้ไม่เคลื่อนที่ไปไหนแม้ว่าโลกจะหมุนรอบตัวเองตลอดเวลาด้วยอัตราความเร็ว 15 องศาต่อ 1 ชั่วโมง เพราะอยู่ตรงกับตำแหน่งขั้วโลกเหนือ

ประมาณหนึ่งทุ่มผลและคุณนกไปยืนที่หน้าผาด้านทิศเหนือของปราสาทภูเพ็กเพื่อสังเกตตำแหน่งดาวเหนือ

ภาพบนท้องฟ้าที่เห็นตรงกับภาพจำลองของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ ดาวเหนืออยู่ในพิกัดปกติที่ตำแหน่งเดิมโดยใช้ดาว Cassiopeia หรือดาวค้างคาวเป็นตัวชี้นำสายตา แต่ไม่สามารถถ่ายภาพจริงเพราะเป็นกล้องธรรมดา
ขั้นตอนที่ 3
ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงกับตำแหน่งของ "สุริยะปฏิทินขอมพันปี" ที่มุมกวาด 115 องศา

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์แสดงภาพจำลองดวงอาทิตย์ขึ้นเช้าวันที่ 2 Jan 2019 ณ ตำแหน่งมุมกวาด 115 องศา (azimuth 115)

เปรียบเทียบภาพดวงอาทิตย์ขึ้นที่มุมกวาด 115 องศา ระหว่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์กับภาพถ่ายจริงแสดงผลโดยสุริยะปฏิทินขอมพันปี

อีกมุมหนึ่งของการแสดงผลดวงอาทิตย์ขึ้น ณ สุริยะปฏิทินขอมพันปี

คุณนกใช้ลูกดิ่งผูกเชือกเพื่อช่วยนำสายตาในการถ่ายภาพดวงอาทิตย์ขึ้นในปรากฏการณ์ winter solstice

สุริยะปฏิทินขอมพันปีแสดงผลเชิงประจักษ์ว่า "ท่านสุริยะเทพมาตามนัด"

เปรียบเทียบภาพระหว่าง Before and After ของตำแหน่งดวงอาทิตย์เช้าตรู่วันที่ 2 jan 2019
ขั้นตอนที่ 4
ใช้นาฬิกาแดดจับเวลา Solar time V/S Clock time ตามสมการแห่งเวลา (equation of time) ในเวลา 07:00 น. of solar time
คุณนกกับนาฬิกาแดดที่ปราสาทภูเพ็กเช้าตรู่วันที่ 1 jan 2019

นาฬิกาแดดแสดงผล Solar time 07:00 น. ขณะที่ Clock time show ประมาณ 07:08 สอดคล้องกับสมการแห่งเวลา (equation of time)
ภาพปรากฏการณ์ amazing บนท้องฟ้า
อนึ่ง ก่อนเข้านอนคืนวันที่ 1 มกราคม 2562 ผมบอกคุณนกว่าเช้ามืดวันที่ 2 มกราคม จะเห็นดาวศุกร์ประกบคู่กับพระจันทร์เสียวทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทภูเพ็ก (ถ้าแกนโลกยังปกติ) และก็ได้เห็นภาพนั้นจริงๆตอนเช้ามืด
เปรียบเทียบภาพจำลองด้วยโปรแกรมดาราศาสตร์กับภาพถ่ายจริงเช้ามืดวันที่ 2 มกราคม 2562

ดาวศุกร์ประกบคู่กับพระจันทร์เสี้ยวบนท้องฟ้าด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทภูเพ็ก

มุมมองจากหน้าปราสาทภูเพ็ก

ยิงภาพดาวศุกร์ประกบพระจันทร์เสี้ยวจากด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทภูเพ็ก

ภาพขยายดาวศุกร์ตีคู่พระจันทร์เสี้ยว
ภาพสวยงามของเกาะดอนสวรรค์ในทะเลสาปหนองหาร 2 Jan 2019
มุมกล้องภาพสวยงามของเกาะดอนสวรรค์ในทะเลสาปหนองหารซึ่งอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันกับปราสาทภูเพ็ก

ยิงมุมกล้องผ่านประตูปราสาทภูเพ็กผ่านแท่งหินศิวะลึงค์ตรงไปยังเกาะดอนสวรรค์ในทะเลสาปหนองหาร สกลนคร

อีกมุมมองของเกาะดอนสวรรค์จากประตูปราสาทภูเพ็ก

เกาะดอนสวรรค์เช้าตรู่วันที่ 2 jan 2019 เปรียบเทียบกับเช้าตรู่วันที่ 21 Marc 2014 ปรากฏการณ์ vernal equionox

ภาพซูมเกาะดอนสวรรค์ยามปกติของเช้าตรู่กับปรากฏการณ์ vernal equinox แสงอาทิตย์ส่องตรงลงมายังเกาะดอนสววรค์
สรุป
ไม่ต้องพูดมากเดี๋ยวเจ็บคอ.......สุริยะปฏิทินขอมพันปียืนยันโลกใบนี้ยังคงเหมือนเดิม ท่านที่เป็นหนี้ธนาคารก็ต้องไปตัดดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นตามระเบียบ ..... ครับ

